วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2559

วิเคราะห์แบรนด์ - EST





เครื่องดื่ม est




ประวัติ เครื่องดื่มยี่ห้อ est
       บริษัทเสริมสุขเป็นเจ้าของในการคิดค้นสูตรการคิดค้นผลิตขึ้นใหม่ พร้อมกับปรับปรุงอัตลักษณ์ใหม่ทั้งหมด จึงเปลี่ยนไปใช้ชื่อเครื่องหมายการค้าใหม่ว่า เอส (est) ซึ่งแต่เดิมบมจ. เสริมสุขเป็นผู้ประมูลการผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มโคลา ชื่อยี่ห้อเป๊ปซี่  จากบริษัทเป๊ปซีโค อินค์.สหรัฐอเมริกา แต่มาถึงปี2555 บริษัทเป๊ปซีโค อินค์ได้ยุติการต่อสัญญาร่วมกิจการ,เช่ากิจการ,การผลิตและจัดจำหน่ายเป๊ปซีกับ บมจ.เสริมสุข ดังนั้นบมจ.เสริมสุข จึงมีพิธีเปิดตัวสินค้า และเริ่มต้นการจัดจำหน่ายอย่างเป็นทางการภายใต้เครื่องหมายการค้า เอส (est) เมื่อวันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 โดยจัดประเภทสินค้าเป็น 4 รูปแบบหลักคือ ขวดแก้ว (ขนาด 250 มิลลิลิตร และ 12 ออนซ์), ขวดพลาสติก (ขนาด 455, 480 มิลลิลิตร และ 1 ลิตร), กระป๋อง (ขนาด 325 มิลลิลิตร) และ ตู้กดเครื่องดื่ม (Post Mix)
            บริษัท เสริมสุข ขายแบรนด์น้ำอัดลม เอส (est) ให้กับ อินเตอร์เนชั่นแนล เบฟเวอเรจ ในเครือไทยเบฟเวอเรจ ผู้ผลิตเบียร์ช้าง มูลค่าสินทรัพย์ 1.56 พันล้านบาท เปลี่ยนเป็นรับจ้างผลิตอย่างเดียว
            วันที่ 28 ตุลาคม 2557 นายสมชาย บุลสุข ประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เสริมสุข (SSC) เปิดเผยว่า คณะกรรมการบริษัทมีมติเห็นชอบให้ ขายเครื่องหมายการค้า “เอส (est)” โดยมีเงื่อนไข กับบริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล เบฟเวอเรจ โฮลดิ้งส์ ลิมิเต็ด มูลค่าสินทรัพย์ที่จำหน่ายคิดเป็น 1,560,000,000 บาท โดยบริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล เบฟเวอเรจ โฮลดิ้งส์ ลิมิเต็ด เป็นบริษัทย่อยของ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ ผู้ผลิตเบียร์ช้าง ซึ่งถือหุ้น 100% ซึ่งเครื่องหมายการค้า เอส เป็นของ บริษัท เกรท แบรนด์ ลิมิเต็ด ที่จัดตั้งขึ้นในฮ่องกง และอนุญาตเสริมสุขให้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวสำหรับการผลิต การตลาดและการขาย การโฆษณา และการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มโคล่า และเครื่องดื่มอัดลมอื่น ๆ  ทั้งนี้จากการดำเนินธุรกิจมาเป็นเวลา 24 เดือน จนถึงสิงหาคม 2557 เอสมีส่วนแบ่งการตลาดน้ำอัดลม 12% และการขายแบรนด์ดังกล่าวจะสามารถนำเงินไปใช้ลงทุนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถสูงสุดในการจำหน่าย และบริษัทเสริมสุขจะยังคงรับผลิตสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้า เอส ต่อไป และจะนำเงินจากการขายแบรนด์ไปลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของกิจการแทน


กลุ่มเป้าหมายของ est
            กลุ่มเป้าหมาย เป็นวัยรุ่น อายุระหว่าง 15-25 ปี รักในการเปิดประสบการณ์ใหม่ในด้านความบันเทิงและกีฬา


สถานการณ์ปัจจุบันของอุตสาหกรรมน้ำอัดลม
คู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกัน


1.Coca-Cola


-โค้กเป็นเครื่องดื่มน้ำอัดลมสัญชาติอเมริกา
-ผลิตและจัดจำหน่ายในไทยโดยกลุ่มบริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด และมี บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) ดำเนินการจัดจำหน่ายใน 14 จังหวัดภาคใต้ ทั้งสองบริษัทเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์การจัดจำหน่าย โคคา-โคลา ในประเทศไทย -โค้กได้รับความนิยมอย่างมากในไทยมายาวนาน และมีความเชื่อถือในแบรนด์ -โค้กเป็นแบรนด์น้ำอัดลมอันดับหนึ่งในไทย



2.Pepsi



-เป๊ปซี่เป็นเครื่องดื่มน้ำอัดลมสัญชาติอเมริกา
-ในอดีต บริษัท เสริมสุข จำกัด เป็นผู้ถือลิขสิทธิ์การผลิตและจัดจำหน่ายในไทย แต่ต่อมาได้ยกเลิกสัญญากันในปี พ.ศ.2555
-เป๊ปซี่สำหรับคนไทย เป็นแบรนด์น้ำอัดลมอีกแบรนด์หนึ่งที่ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน
-โดยขณะนี้ในตลาดการแข่งขันของไทยเป๊ปซี่เป็นแบรนด์อันดับสองรองจากโค้ก


การแบ่งส่วนการตลาดในอุตสาหกรรมน้ำอัดลม ปี .ศ.2557
            สงครามน้ำดำรอบใหม่ในปี 2557 กำลังถึงจุดที่ท้าทายของ “เอส” ต้องฝ่าวงล้อมคู่แข่ง หลังจากโดน “เป๊ปซี่” ช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดจนหล่นมาเป็นเบอร์ 3 ทำให้เอสต้องเดินตามรอยบิ๊กโคล่า ใช้กลยุทธ์ “ราคา” และปริมาณเข้าสู้ ควบคู่ไปกับการให้ส่วนแบ่งตลาดร้านค้าแบบเต็มเหนี่ยว เพื่อรักษาเครือข่ายช่องทางจำหน่ายที่เป็นป้อมปราการที่สุด   แม้ว่าช่วงปีแรกที่ “เอส” ออกสตาร์ทเข้าสู่สังเวียนน้ำอัดลม จะแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดมาได้เกือบ 20% ขึ้นแท่นเบอร์ 2 โดยอาศัยความแข็งแกร่งในเรื่องช่องทางจำหน่ายที่เสริมสุขมีเครือข่ายร้านค้า โชห่วยอยู่ทั่วประเทศ และการมีขวดแก้วรองรับกับช่องทางร้านค้า แทนที่ “เป๊ปซี่” ที่ต้องพักรบชั่วคราวเพื่อไปทุ่มสร้างโรงงานผลิต
            แต่หลังจากผ่านช่วงเวลามาได้ปีครึ่ง เมื่อคู่แข่งอย่างเป๊ปซี่พร้อมทวงแชมป์กลับคืนมาอีกครั้งจากโค้ก ที่แต่เดิมเคยทำตลาดแบบเรื่อยๆ มาเรียงๆ ก็ใส่เกียร์เดินหน้า อัดฉีดงบเพิ่มกำลังการผลิต และงบการตลาด ออกแคมเปญใหม่ๆ สู่ตลาด โดยเฉพาะแคมเปญ Share a Coke ที่โดนใจวัยรุ่น สร้างชื่อให้แบรนด์โค้กลอยลำกลับขึ้นมาชิงส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 1 ด้วยส่วนแบ่งตลาด 52%
           

      
            แม้ว่าเอสจะพยายามเดินเกมอัดฉีดงบเพื่อทำตลาดทั้งมิวสิกมาร์เก็ตติ้ง และสปอร์ตมาร์เก็ตติ้ง ที่ถือเป็นสูตรการตลาดน้ำอัดลมใช้เจาะตลาดวัยรุ่น ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักมาตลอด โดยใช้งบถึง100 ล้านบาท ในการเป็นสปอนเซอร์ให้กับทีมฟุตบอล “แมนเชสเตอร์ ซิตี้” แต่ดูเหมือนว่ายังไม่สามารถเพิ่มดีกรีความน่าสนใจให้แบรนด์เอสแตกต่างอย่าง “สุดขั้ว” จากคู่แข่งได้ และยังมีเรื่องของ “รสชาติ” ที่ยังเป็นจุดอ่อนของเอสอยู่  ส่งผลให้ส่วนแบ่งตลาดของเอสที่เคยขึ้นเป็นเบอร์ 2 ในช่วงแรกของการทำตลาด ผ่านไปปีครึ่งส่วนแบ่งตลาดของเอสกลับหล่นลงมาเหลือ 12% กลายเป็นอันดับ 3 ตามหลังเป๊ปซี่ ที่เร่งสปีดไต่ขึ้นมาเป็นเบอร์ 2 ด้วยส่วนแบ่งตลาด 29%
                 


สัดส่วนการตลาดของ Est ประมาณ 12% ซึ่งเป็นอันดับที่สามของตลาด ข้อมูลจากปี พ.ศ.2557



กลยุทธ์การตลาด 4C’s ของ est

1.Consumer Solution (การแก้ปัญหาให้ลูกค้า)
            เอส ได้เซตไลน์อัพแพ็กเกจจิ้งใหม่ มีการออกบรรจุภัณฑ์เพิ่ม 2 ขนาด โดยใช้ชื่อว่า “เอส เบิ้ม” ขวดแก้วขนาด 16 ออนซ์ ราคา 9 บาท และ “เอส ยักษ์” ขวด PET ขนาด 1.6 ลิตร ราคา 25 บาท พร้อมทั้งปรับโฉมเอสอีก 3 ขนาด ได้แก่ “เอส คูลแฮนด์” ขนาด 250 มล. ราคา 10 เป็นขวดแก้ว ฝาเกลียวที่ดูทันสมัยมากขึ้น และเอสกระป๋องแคน ได้ปรับเป็น “เอส สลีคแคน” ทั้ง 2 ขนาด 325 มล. ราคา 14 บาท และขนาด 250 มล. ราคา 10 บาท สำหรับ “เอส เบิ้ม” ขวดแก้วขนาด 16 ออนซ์ ราคาขาย 9 บาท เน้นเจาะร้านค้า ร้านอาหารที่เอสมีอยู่ในมือกว่า 2 แสนแห่งทั่วประเทศ ส่วนเอส ยักษ์ ขวด PET ขนาด 1.6 ลิตร ซึ่งเป็นขนาดที่ยังไม่เคยมีมาก่อนในตลาด วางขายในราคา 25 บาท เน้นช่องทางการขายโมเดิร์นเทรด โดยที่ตอนนี้จัดโปรโมชั่น 2 ขวด 40 บาท ที่เทสโก้ โลตัสทำให้ปัจจุบันเอสมีบรรจุภัณฑ์รวมทั้งสิ้น 11 ขนาด ใน 5 กลุ่มใหญ่ 1.ขวดแก้วแบบคืนขวด 2.ขวด PET 3.ขวดแก้วแบบไม่คืนขวด 4.กระป๋องสลีคแคน 5.ตู้กด Post-Mix
ความเคลื่อนไหว ความเคลื่อนไหวของเอสครั้งนี้เห็นได้ชัดเจนว่า เอส ได้หันมาใช้ความหลากหลายของบรรจุภัณฑ์ เพื่อเข้าถึงทุกช่องทางจำหน่าย

2.Cost to Consumer (ต้นทุนของลูกค้า)
  น้ำอัดลมเป็นสินค้าแบบ low involved ment ผู้บริโภคมีความทุ่มเทพยายามในการซื้อต่ำ โดยเอสใช้จุดขายเรื่องของราคาขายต่ำกว่าในปริมาณมากกว่าออกมาสู้กับคู่แข่ง กับโค้ก ซึ่งมีความหลากหลายในเรื่องของบรรจุภัณฑ์ โดยเอสออกไซส์ที่ใกล้เคียงกันแต่ให้ปริมาณมากกว่าและถูกกว่า เพื่อกวาดต้อนลูกค้าในระดับ “แมส” ที่มองหาความคุ้มค่าในเรื่องของราคามากกว่าเรื่องแบรนด์

3.Convenience (ความสะดวกของลูกค้า)
             การแข่งขันในอุตสาหกรรมน้ำอัดลมปัจจุบันให้ความสำคัญเรื่องของการสร้างความได้เปรียบของช่องทางการจัดจำหน่ายหรือ Distribution Channel Strategy มากกว่า est มีช่องทางการจัดจำหน่ายที่ได้เปรียบคู่แข่งด้วยประสบการณ์หรือความเป็นมืออาชีพและคุ้นเคยกับลูกค้า เพราะประสบการณ์ของเสริมสุข ในเรื่องจัดจำหน่ายและคุ้นเคยกับตลาด Local ในเมืองไทยได้ดีกว่าคู่แข่ง

4.Communication (การสื่อสาร)
             est มีกลยุทธ์ในการใช้สื่อทั้ง 2 ทางคือ Above the line เป็นการใช้สื่อโฆษณาผ่าน Media โทรทัศน์ วิทยุ การเป็นผู้สนับสนุนต่างๆ และ Below the line เป็นการสื่อผ่านกิจกรรมต่างๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งการสร้าง Network กับพ่อค้าคนกลาง กับร้านค้าต่างๆ



IMC Mix ของ est ประกอบด้วยเครื่องมือสื่อสารหลักสำคัญ 3 อย่าง ดังนี้


1.การโฆษณา (Advertising)
      Est มีการโฆษณาโดยใช้ช่องทางต่างๆ ดังนี้
-    บนเว็ปไซต์ Youtube



est เปิดตัวโฆษณาใหม่ล่าสุด "est ซ่าซี้ดสุดขั้ว พร้อมกับแบรนด์แอมบาสเดอร์ใหม่ GOT7 ซึ่งเป็น 7 หนุ่ม บอยแบนด์ที่ดังสุด ๆ  ในกลุ่มวัยรุ่น " พร้อมเปิดตัวเครื่องดื่มใหม่สุดซี้ด "est Korean Orange Cola" เครื่องดื่มโคล่าผสมกลิ่นส้ม ซึ่งถือว่าเป็นการโฆษณาโดยใช้กลุ่มศิลปินต่างประเทศที่มีชื่อเสียงเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของแบรนด์ให้ดูมีความน่าเชื่อถือและความเป็นสากลมากขึ้น



โฆษณา เชียร์ไทยสุดซี้ด สู้ศึกวอลเล่ย์บอล World Grand Prix 2016 est เป็นสปอนเซอร์นักวอลเล่ย์บอลหญิงทีมชาติไทยที่กำลังจะลงแข่งขันในรายการ World Grand Prix 2016 ซึ่งเป็นการแข่งขันในระดับโลก โดยใช้แฮชแท็กว่า #สู้สุดใจให้โลกเห็น เพื่อเป็นการโฆษณาเครื่องดื่ม est โดยใช้พรีเซ็นเตอร์เป็นนักกีฬาวอลเล่ย์บอลทีมชาติไทยซึ่งกำลังเป็นเป็นที่นิยมของคนไทย

-   Website
หน้าเว็บไซต์ของ est มีการประชาสัมพันธ์มากมายทั้ง TVC, Product,Promotion,Contact พร้อมลูกเล่นมากมายทำให้น่าสนใจไม่น่าเบื่อเช่นการบอกถึงตัวสินค้าว่ามีอะไรบ้างรวมถึงบอกขนาดของสินค้าอย่างละเอียด แสดงถึงความเป็นแบรนด์ที่ทันสมัยและน่าเชื่อถือ







-    สื่อโซเชียลมีเดีย
                



Facebook
           Est  มีการโปรโมทผลิตภัณฑ์ผ่าน facebook โดยมีการเน้นพรีเซนเตอร์เป็นหัวข้อปักหมุด เพื่อดึงดูดกลุ่มลูกค้า และมีการนับเวลาถอยหลังเพื่อย้ำเตือนกลุ่มลูกค้าในการเข้ามาร่วมกับกิจกรรมที่ est จัดขึ้น





Twitter
Est มีการโปรโมทกิจกรรม และมีกิจกรรมติดแฮชแท๊ก #estซ่าซี้ดสุดขั้วกับGOT7flytoขอนแก่น  #estซ่าซี้ดสุดขั้วกับGOT7flytoเชียงใหม่ #Estซ่าซี้ดสุดขั้ว เพื่อประชาสัมพันธ์ว่า Got7และ est จะไปจัดกิจกรรมที่ไหน เป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของกิจกรรมต่างๆ




แอพพลิเคชั่น
แอพพิเคชั่นของเอส เน้นในเรื่องของการส่งรหัสใต้ฝาในกิจกรรมแฟนคลับบินยกแก๊งมีต Got7 ที่เกาหลี หรือความสะดวกในการร่วมลุ้นกับกิจกรรมต่างๆ



-    est เป็นสปอนเซอร์ให้กับนักกีฬา

หากเปรียบเทียบตัวเลขงบโฆษณาในปี 2554 ที่ผ่านมา เป๊ปซี่ ใช้ไปราว 462 ล้านบาท เชื่อว่าทั้งปีของแบรนด์ เอส โคล่า จะใช้มากกว่า 2-3 เท่าตัว เพื่อเร่งแจ้งเกิดแบรนด์ให้เร็วที่สุด เพราะว่าตลาดน้ำดำ เป็นการแข่งขันของแบรนด์ที่แข็งแกร่งในระดับโลก ปีแรกของการสร้างแบรนด์ของ เอส โคล่า ไม่น่าต่ำกว่าหลักพันล้านบาทอย่างแน่นอน  เพื่อที่จะทำให้คนไทยที่เป็นกลุ่มเป้าหมายในประเทศให้ รู้จักในวงกว้างก่อน หรือกิจกรรมต่างๆ ที่ไทยเบฟ ทุ่มงบประมาณเป็นสปอนเซอร์หลัก โดยใช้แบรนด์ "ช้าง" เป็นสปอนเซอร์ โดยที่ ช้าง อาจจะหลีกทางด้วยการส่งแบรนด์ เอส เข้าไปเป็นสปอนเซอร์ในกิจกรรม หรือการแข่งขันกีฬาลีกดังที่อยู่ในความสนใจของประชาชน เพื่อเร่งสร้างแบรนด์เอสในตลาด ขณะเดียวกัน ภายใต้เครือข่ายธุรกิจข้ามชาติของไทยเบฟ ที่มีเป้าหมายบุกตลาดอาเซียนด้วยนั้น การเปิดตัวน้ำดำ เอส โคล่า ของเสริมสุขในครั้งนี้ อาจจะเป็นการเปิดตัวเพื่อทำตลาดในระดับภูมิภาคอาเซียน ไปพร้อมกัน โดยเริ่มจากประเทศเพื่อนบ้านไทยเป็นกลุ่มแรก เป็นการสร้างแบรนด์ให้มีภาพลักษณ์ที่ดีและเป็นที่จดจำของกลุ่มเป้าหมาย

  

Est เป็นสปอนเซอร์ในการกีฬาที่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ตามกลยุทธ์ของเอส ที่ต้องการจะทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จัก ของตลาดไทย และอาเซียน ตามกลยุทธ์การสร้างแบรนด์เครื่องดื่มน้ำอัดลมใหม่ "เอส โคล่า" ของ เสริมสุข ภายใต้ร่มเงา"Thai beverage" ซึ่งมีบริษัท ทศภาค จำกัด เป็นผู้ดูแลการซื้อสื่อในเครือทั้งหมด เชื่อว่าจะมีการใช้งบประมาณโฆษณาแบบ "ไม่จำกัด" เพื่อแจ้งเกิดแบรนด์เอส กลยุทธ์ที่สำคัญที่ "ไทยเบฟ" น่าจะนำมาใช้เพื่อแจ้งเกิด "เอส โคล่า" คือ การนำแบรนด์น้ำดำน้องใหม่ "เอส" เข้าเป็นสปอนเซอร์ในกีฬาของประเทศไทยเช่นกีฬา วอลเล่บอล และฟุตบอล ซึ่งถือว่าพยายามสร้างเส้นทางให้เทียมคู่แข่ง ทำให้เป็นที่รู้จักและสนใจของคนทั่วไปทั้งในและต่างประเทศ จะทำให้มีการสร้างฐานลูกค้ากับกลุ่มที่สนใจในด้านกีฬา และอีกนัยหนึ่ง เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่า เครื่องดื่มประเภทนี้ให้ผลเสียต่อร่างกาย จึงต้องพยายามสร้างภาพลักษณ์ที่ดี โดยการสนับสนุนกีฬาเพื่อการเสริมสร้างสุขภาพ

-    การสกรีนลาย est บนรถไฟฟ้าและป้ายโฆษณา ณ จุดเช่ายืมจักรยาน


ลายบนรถไฟฟ้า



ป้ายโฆษณา ณ จุดเช่ายืมรถจักรยาน
        เป็นการทำให้กลุ่มเป้าหมายและคนทั่วไป ได้รู้จัก est และเป็นการตอกย้ำความเป็นแบรนด์ เพราะคนทั่วไปเห็นป้ายได้ชัดเจน และรับรู้ว่ามี est อยู่ในทุกๆที่



2.การส่งเสริมการขาย (sales promotion)




เบนซ์ซิ่ง แจกเมอร์เซเดส-เบนซ์ GLA 30 คัน ง่ายๆเพียงร่วมชิงโชคลุ้นรางวัลกับเอส โคล่า คนพันธุ์ซ่า ต้อง
ส่งรหัสใต้ฝา กด *759* รหัส 11 หลัก กดโทรออก
*ฟรี!! ค่าส่งและภาษี ณ ที่จ่าย
*1 ฝา 1 รหัส ส่งได้ 1 ครั้ง
*ใน 1 วัน ส่งได้ไม่เกิน 10 รหัส ต่อ 1 หมายเลขโทรศัพท์



ลุ้นเชียร์ติดขอบสนาม แมตช์หยุดโลก นัดชิงแชมป์ยุโรป บน ที่นั่งที่ดีที่สุด พร้อม ณเดชน์ แถมยังได้ลุ้นเชียร์ติดขอบจอ กับ ซัมซุง กาแล็คซี่ S7 อีก 500 เครื่อง มูลค่ารวม 20,000,000 บาท วันนี้ – 30 พ.ค. 59 แค่พิมพ์ *759* ตามด้วยรหัสใต้ฝา # แล้วกดโทรออก ฟรี! ค่าส่ง และ ภาษี ณ ที่จ่าย หรือ ส่งผ่าน เอส แอพพลิเคชั่น






ดื่มเอสวันนี้ ลุ้นไปซ่าซี้ดสุดขั้วยกแก๊ง 4 คน ถึงเกาหลี สุดฟินกับกิจกรรม meet & greet แบบเอ็กซ์คลูซีฟ กับ GOT7 รวม 400 ที่นั่ง (100 รางวัล) เพียงส่งรหัสใต้ฝา ส่งฟรีถึง 3 ช่องทาง
1.ทางมือถือ กด *759* รหัสใต้ฝา 11 หลัก # แล้วกดโทรออก
2.ทาง Mobile App est ฟรี!! โหลดฟรี!! ที่ http://goo.gl/MVXWj1
3.ทางเว็บไซต์ www.estcolathai.com
**ใน 1 วัน สามารถส่งกี่รหัสก็ได้ไม่จำกัดจำนวน

ทั้ง 3 กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมการส่งเสริมการขายของเอสโคล่า โดยการให้ผู้บริโภคเลือกซื้อเครื่องดื่มน้ำอัดลมยี่ห้อ เอสโคล่า แล้วเก็บฝาเพื่อส่งรหัสให้ชิงโชคกิจกรรมนั้นๆ โดยค่าใช้จ่ายในการส่ง SMS นั้นไม่เสียค่าบริการ สิ่งนี้ทำให้ลูกค้าสนใจมากยิ่งขึ้น เพราะเมื่อเลือกซื้อสินค้านี้แล้วยังมีโอกาสได้ลุ้นรางวัลจากเอสโคล่าอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น กิจกรรม est cola ซ่าซี้ดสุดขั้วกับ GOT7 Fly to Chiang Mai เมื่อวันที่ 22 กันยายน  ที่ผ่านมา เอสโคล่าได้พาแบรนด์แอมบาสเดอร์คนล่าสุดบินลัดฟ้า เพื่อฉลองเอสโคล่าแพ็กเกจจิ้งลิมิเต็ดอิดิชั่นของก็อตเซเว่นที่มียอดขายพุ่งกระฉูดแบบหยุดไม่อยู่ ที่เอสโคล่าเลือก แบรนด์แอมบาสเดอร์เป็นวงไอดอลเกาหลีนี้เนื่องด้วยฐานแฟนคลับ ผู้สนใจในตัวศิลปินกลุ่มนี้มีอยู่จำนวนมาก ซึ่งทำให้เมื่อจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายมักจะได้รับกระแสตอบรับที่ดี กิจกรรมข้างต้นนี้เป็นการดึงดูดความสนใจจากผู้บริโภคให้บริโภคซื้อเอสโคล่า เพื่อนำใบเสร็จทุกๆ100บาทขึ้นไป แลกเป็นบัตรเข้าชมงาน จำนวน 3300 คนเท่านั้น แต่ถ้าผู้ใดมียอดการซื้อผลิตภัณฑ์เอสโคล่าสูงสุด 14 อันดับแรก จะได้ร่วมเล่นเกมพร้อมถ่ายรูปกับหนุ่มๆวงGOT7 อีกด้วย ซึ่งกิจกรรมในครั้งแรก สร้างรายได้ให้กับเอสโคล่ามหาศาล ซึ่งยอดการซื้อผลิตภัณฑ์สูงสุดในกิจกรรมครั้งนี้อยู่ที่ 48,000 บาทไทยนั่นเอง สรุปยอดขายผลิตภัณฑ์เอสโคล่าในการจัดกิจกรรมครั้งนี้สูงถึงหลักล้านเลยทีเดียว การส่งเสริมการขาย ถือเป็นกิจกรรมทางการตลาดขององค์การที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการขายได้ในทันทีและรวดเร็วที่สุด ไม่ว่าจะในทางการโฆษณาหรือเครื่องมือการขายผลิตภัณฑ์ก็ตาม

- การเลือกใช้พรีเซ็นเตอร์ของ est
เลือกใช้พรีเซ็นเตอร์ที่มีชื่อเสียง เช่น ณเดช คูกิมิยะ, Thestar, นักกีฬาวอลเลย์บอล/ฟุตบอลทีมชาติไทย, GOT7 เพื่อดึงดูดตวามสนใจของกลุ่มเป้าหมาย

ช่องทางการจัดจำหน่าย
มีช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์อย่างทั่วถึง เช่น ร้านขายของชำ ร้านอาหาร ซุปเปอร์มาร์เก็ต จะเห็นได้ว่าแม้แต่ร้านค้าในระดับตำบล อำเภอ เอสโคล่าก็สามารถเข้าถึงได้อย่างทั่วถึง และเรายังเห็นเอสโคล่าตามร้านอาหารตามสั่ง


-     การร่วมกับธุรกิจอื่นๆ


Est ร่วมกับ บริษัทเชฟรอน (ไทย) จำกัด เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์คาลเท็กซ์ โดยมีการจัดโปรโมชั่นเอาใจลูกค้าสถานีบริการน้ำมันคาลเท็กซ์ ภายใต้แนวคิดที่ว่า “ เติมสุขทุกเส้นทางที่คาลเท็กซ์ ” เพียงเติมน้ำมันคาลเท็กซ์ พาวเวอร์ ดีเซล ครบทุก 900 บาท รับฟรีทันที น้ำอัดลม เอส โคล่า ขนาด 1 ลิตร ได้ที่สถานีน้ำมันคาลเท็กซ์ที่ร่วมรายการ ทุกสาขาทั่วประเทศ เป็นการตอกย้ำแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น




3.การประชาสัมพันธ์และการเผยแพร่ข่าว (Public relation and pubicity)

การออกบูธกิจกรรมของ est  
            
           เอสไม่ได้มีการจัดกิจกรรมเพื่อประชาสัมพันธ์แบรนด์โดยเฉพาะ แต่จะเป็นการประชาสัมพันธ์ควบคู่ไปกับการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย เช่น การจัดบูธให้ลองชิมเอสและขายสินค้าไปพร้อมกัน



การออกบูธงานเอส ซ่าซี้ดสุดขั้ว Got7 Fly to เชียงใหม่ / ขอนแก่น 22 กันยายน 2559 @ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ จ.เชียงใหม่  23 กันยายน 2559 @เซ็นทรัลพลาซ่า ขอนแก่น จ.ขอนแก่น

ความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR)

เอส เป็นผู้สนับสนุนด้านการศึกษาให้กับโครงการ ก้าวแรกสู้เส้นทางความฝัน Discovery of Thailand's Astronauts Scholarship Program ซึ่งจัดโดยบริษัท เซ็นทรัลพัฒนาจำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอ็น เพื่อค้นหาตัวแทนประเทศไทยไปศึกษาฟรีที่ U.S. Space & Rocket Center ประเทศสหรัฐอเมริกา และในนามบริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) ยังให้ความสำคัญต่อการดำเนินโครงการเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมตลอดจนกระบวนการผลิต พร้อมทั้งขยายผลสู่สาธารณะภายนอกผ่านการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมในหลากหลายมิติ โดยมีเป้าหมายในการร่วมเป็นเครือข่ายขับเคลื่อนสังคมไทยให้เกิดการพัฒนาด้านสังคม และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนต่อไป จนได้รับรางวัล CSR – DIW ปี 2556 เป็นรางวัลของโครงการพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรมให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างมีส่วนร่วม ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม โดยมีสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอเป็นหน่วยงานที่ปรึกษา ซึ่งโรงงานของเสริมสุขได้เข้าร่วมโครงการตั้งแต่ปี 2552 และได้รับรางวัลมาอย่างต่อเนื่อง 5 ปีซ้อน (2552 – ปัจจุบัน) โดยเป็นผู้ผลิตเครื่องดื่มรายเดียวในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน CSR – DIW ครบถ้วนทั้ง 5 โรงงาน

           ทั้งนี้มาตรฐาน CSR – DIW เป็นมาตรฐานที่อ้างอิงตาม ISO 26000 – Social Responsibility ประกอบด้วย 7 หัวข้อหลัก คือ การกำกับดูแลองค์กร สิทธิมนุษยชน การปฏิบัติด้านแรงงาน สิ่งแวดล้อม การดำเนินงานอย่างเป็นธรรม ประเด็นด้านผู้บริโภค การมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชน โดยมีข้อกำหนดทั้งหมด 237 ข้อ ผ่านการขับเคลื่อนของคณะทำงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม และคณะทำงานชุมชนสัมพันธ์ของโรงาน ซึ่งนับตั้งแต่ที่เสริมสุขได้เข้าร่วมโครงการดังกล่าวก่อให้เกิดความสัมพันธ์ ความร่วมมือ และทัศนคติที่ดีระหว่างโรงงานและชุมชนรอบโรงงาน ทำให้โรงงานของเสริมสุขไม่เป็นเพียงโรงงานที่ตั้งอยู่ใกล้ชุมชน แต่โรงงานของเสริมสุขนับเป็นเพื่อนบ้านที่อยู่เคียงข้างกับชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม ด้วยความสุขร่วมกัน ผ่านการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของแต่ละโรงงาน ซึ่งสารเสริมสุขได้มีโอกาสรายงานข่าวคราวให้ทราบเป็นระยะ ดังนั้น รางวัลดังกล่าวจึงเป็นรางวัลที่แสดงถึงการดำเนินธุรกิจด้วยแนวทางอย่างยั่งยืนครอบคลุมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการยอมรับและการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน ดังสโลแกนของบริษัทที่ว่า “เสริมสุข เติมสุขทุกโอกาส”


4.การขายโดยบุคคล (Personal Selling)

            Est มีช่องทางการจัดจำหน่ายที่แข็งแรงของบริษัทเสริมสุข ภายใต้ร่มเงาของบริษัทไทย เบฟเวอเรจ มีหน่วยรถที่ครอบคุลมทุกพื้นที่ สามารถเข้าไปได้ทุกหัวหาดตำบล โดยในช่วงแรก est ใช้การขายโดยบุคคลผ่านพนักงานขับรถโดยใช้กลยุทธ์ให้พนักงานขับรถช่วยเชียร์แบรนด์ est โดยให้ความรู้กับร้านค้าต่างๆว่าเป็นแบรนด์ที่ถูกปั้นขึ้นมาใหม่
           

5.การตลาดเจาะจง (Direct Marketing)

            Est มีกลยุทธ์ในการทำการตลาดเจาะจงผ่านช่องทางสื่อโซเชียลมีเดีย เช่น เฟสบุ๊ค หรือเว็ปไซด์ของ est เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มผู้ที่สนใจติดต่อมายังแบรนด์ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น